ผู้ให้บริการอนิเมะออนไลน์รายใหญ่ในสหรัฐอเมริกา Crunchyroll ได้สัมภาษณ์ทีมงานของ TMS Entertaiment เกี่ยวกับเรื่องการสร้างอนิเมะ Dr.Stone หนึ่งในอนิเมะที่กระแสดีในช่วงเดือนกรกฎาคม 2019
เป็นคลิปที่อธิบายเรื่องขั้นตอนการสร้างอนิเมะค่อนข้างละเอียดคลิปหนึ่ง และมีซับอังกฤษ น่าดูสำหรับคนที่ยังไม่ทราบเรื่องขั้นตอนการผลิตอนิเมชั่นในญี่ปุ่น ซึ่งในคลิปอธิบายเข้าใจง่ายอยู่
Behind the Scenes of Dr. STONE | The Making of an Anime
ทีมงาน Dr.Stone ในคลิป
- คาตากิริ ชูสึเกะ (Katagiri Shusuke) โปรดิวเซอร์ ผู้อยู่ในวงการมา 16 ปี เคยมีผลงานจากอนิเมะ โอตาคุน่องเหล็ก และ ลูแปงที่ 3
- อิโนะ ชินยะ (Iino Shinya) ผู้กำกับ อยู่ในวงการประมาณ 6 ปี เคยเป็นผู้ช่วยผู้กำกับเรื่อง Made in Abyss
- คาวาจิริ เคนทาโร่ (Kawajiri Kentaro) ผู้ช่วยผู้กำกับ (ในคลิปนาทีที่ 8.50)
ไฮไลท์ในคลิป (คร่าวๆ ดูในคลิปประกอบ)
- ช่วงแรกอธิบายเรื่องการทำงานทั่วไปของทีมงานที่เกี่ยวข้อง, ความน่าสนใจของเรื่องด็อกเตอร์สโตนที่แตกต่างจากเรื่องอื่น
นาทีที่ 4
- สิ่งแรกพูดถึงเรื่องการดูต้นฉบับมังงะ แล้วดูจำนวนตอนที่ได้ทำ ก่อนวางแผนขั้นตอนการผลิตว่าจะดำเนินไปอย่างไร
- เริ่มจากดีไซน์ตัวละคร และสีหน้าตัวละคร
- ดีไซน์ฉาก และนัดประชุมคุย
นาทีที่ 7.50
- อนิเมะแต่ละตอนมีประมาณ 300 ช็อต อาจมากกว่าหรือน้อยกว่า อย่างตอนแรกของ Dr.Stone มี 316 ช็อต
- ช็อต = ฉากในเรื่อง (ตามภาพด้านล่าง 4-5 รูป)
นาทีที่ 8.20
- อธิบายให้เห็นภาพด้วยช็อตตอน เซ็นคุ เสยผม ในตอนจบตอนแรก
- เริ่มจากการกำหนด เลย์เอาท์ (Layout) ของเรื่อง
- สตอรี่บอร์ด (Story) เหมือนแบบแปลนของอนิเมชั่น 300 กว่าช็อตในตอนจะถูกอธิบายรายละเอียดในกระดาษ ให้อนิเมเตอร์ที่เกี่ยวข้องเข้าใจ
- ยกตัวอย่างช็อตที่ 316 ของตอนแรก (ตอนเสยผม) ตามสิ่งที่จดไว้ในสตอรี่บอร์ดเพื่อให้อนิเมเตอร์เข้าใจ
นาทีที่ 10.20
- อธิบายถึงเลย์เอาท์ มุมมองของภาพในช่วงแรกของเรื่องที่เห็นพระพุทธรูป
- อธิบายถึงตอนที่ซุยกะได้ใส่แว่นตาที่เซ็นคุสร้างขึ้นครั้งแรก (อนิเมะตอนที่ 11) ว่าควรจะออกมาเป็นอย่างไร ความรู้สึกของตัวละคร เพลงประกอบ ภาพที่ค่อยๆ ชัดขึ้น องค์ประกอบโดยรวม ใช้ความรู้สึกตัวละครเล่าเรื่อง โดยไม่ต้องใช้คำพูด
นาทีที่ 13.00
- ตรวจเช็คตอนเป็นหน้าที่ของ ผู้กำกับในแต่ละตอน (Episode Director) ส่วนผู้กำกับจะดูโดยรวมทุกตอน
- อนิเมะแต่ละตอนมีอนิเมเตอร์ประมาณ 20 คนในการวาด
- ผู้กำกับอนิเมชั่น (Animation Director) จะดูผลงานจากอนิเมตอร์คนอื่น และพิจารณาแก้ไขภาพร่าง
- หลังวาด 300 ช็อต (สำหรับอนิเมะ 1 ตอน) จากคนร่วม 20 คน จะนำมารวมกัน
นาทีที่ 14.00
- ช็อตที่วาดเสร็จ จะเป็นภาพคีย์หลัก (Key Animation) ซึ่งต้องมีเฟรมย่อยๆ มาเติมช่องว่างระหว่างภาพเคลื่อนไหว
- ยกตัวอย่างกรณีของเซ็นคุตอนเสยผม (1) ตอนเริ่ม (2) ระหว่างเสย (3) หยุดเคลื่อนไหว จะแบ่งเป็นภาพ 3 คีย์หลักๆ
- งานภาพเคลื่อนไหว ระหว่างเฟรมคีย์หลัก จะเรียกว่างาน in-betweens เพื่อทำให้ภาพเคลื่อนไหวได้ ซึ่งจะเป็นหน้าที่ของ In-Betweens Animation ที่มาวาดภาพระหว่างคีย์หลัก
- หลังวาดแทรกจะเป็นภาพขาวดำ จะเพิ่มสีในขั้นตอนต่อไป
- เพิ่มรายละเอียดของภาพแบ็คกราวน์ ตามต้นแบบที่วางไว้
- ตัวอย่างตอนเสยผม เป็นเพียง 1 ในประมาณ 300 ช็อตของแต่ละ 1 ตอน
* ฟังดูง่าย แต่ขั้นผลิตจริงๆ ส่วนใหญ่งานจะซับซ้อนกว่านั้นเยอะ
นาทที่ 18.25 – จบ
- ช่วงท้าย โปรดิวเซอร์ ผู้กำกับ พูดถึงเรื่องอนิเมะส่วนใหญ่ที่ไม่ต่างกัน มีเรื่องภาพเคลื่อนไหว รายละเอียดที่ต้องเก็บ ให้ดูสมจริง เก็บรายละเอียดตามในเรื่อง ทั้งหนัง ลายไม้ ทุบเปลือกหอย
- อย่าง ตอนสร้างแก้ว (อนิเมะตอนที่ 11) ก็ไปศึกษาจากของจริงที่โรงงานผลิตแก้ว
- พูดทิ้งท้ายเรื่องการสร้างอนิเมะ
อธิบายเสริมจากในคลิป
ตั้งแต่ในนาทีที่ 14 แผนงานการทำอนิเมะ อธิบายคร่าวๆ ได้ประมาณนี้
งาน Key Animator (ภาพหลัก), In-Betweens (ระหว่างภาพเคลื่อนไหว), ลงสี จะอยู่คนละส่วนกัน ที่เห็นภาพเคลื่อนไหวบางเรื่อง ดูไม่ลื่น ส่วนใหญ่เพราะฝั่งงาน In-Betweens
งาน in-betweets ในฝั่งอเมริกาจะมีศัพท์อื่นเพิ่ม อย่าง Extremes กับ Breakdowns เพิ่มเข้ามา แต่ส่วนใหญ่ไม่พูดถึงในอนิเมะญี่ปุ่น
คลิปผลิตอนิเมะอื่นๆ
ตัวอย่างของ Studio Trigger ตอนผลิต Little Witch Academia จะเห็นภาพขั้นตอนการทำงานจริงกว่า (ซับอังกฤษ)
ตัวอย่างงาน Violet Evergarden คลิปของ KyoAni Channel (ก่อนเกิดเหตุวางเพลิงประมาณ 1 เดือน) งานบางช่วงในการวาดภาพหลัก ภาพเคลื่อนไหว ไปถึงขั้น CG และลงสี
คลิปยังอธิบายคร่าวๆ ถึงขั้นตอนในการสร้างอนิเมะ ถ้ามีโอกาสจะนำส่วนอื่นๆ มาพูดกันอีกครั้งในภายหลังครับ
อนิเมะ Dr.Stone ซับไทย ดูได้ที่เว็บและแอพของ WeTV >> Link